วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 13

1.จงอธิบายถึงธรรมชาติและแหล่งกำเนิดเสียงมาพอเข้าใจ
ตอบ ธรรมชาติของเสียง เสียงเป็นคลื่นกลชนิดคลื่นตามยาวเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ และสามารถถ่ายโอนพลังงานการสั่นของตัวก่อกำเนิดเสียงไปในตัวกลางยืดหยุ่น เช่น อากาศ ของเหลว ของแข็ง เป็นต้น เสียงไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศไปได้ เสียงเกิดขึ้นได้อย่าง จากการศึกษาพบว่าเมื่อวัตถุเกิดการสั่นจะเกิดสียงขึ้น เช่น การสั่นของเส้นเสียงในกล่องเสียง ขณะมีการเปล่งเสียงพบว่าเมื่อจับที่ลำคอจะรู้สึกว่ามีการสั่นภายในลำคอหรือการสั่นของสายกีตาร์ เมื่อสายกีตาร์สั่นจะเกิดเสียง แต่เมื่อสายกีตาร์หยุุดสั่น เสียงก็จะเงียบไป จากการศึกษาพบว่าการได้ยินเสียงมีองค์ประกอบ ดังนี้
1. แหล่งกำเนิด
2.ตัวกลาง
3.ผู้ฟังแหล่งกำเนิดเสียง เสียงเกิดจาก การสั่นของวัตถุ เราสามารถทำให้วัตถุสั่นด้วยวิธีการ ดีด สี ตีและเป่า เมื่อแผล่งกำเนิดเสียงเกิดการสั่น จะทำให้โมเลกุลอากาศสั่นตามไปด้วย โดยมีความถี่เท่ากับการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง การสั่นของลำอากาศ ทำให้เกิดการเรียงตัวของโมเลกุลแตกต่างไปจากเดิม บางตำแหน่งโมเลกุลของอากาศจะเคลื่อนที่ไปอยู่ชิดติดกันมากขึ้นเรียกว่าช่วงอัด บางตำแหน่งโมเลกุลของอากาศจะอยู่ห่างกันมากขึ้นเรียกว่าช่วงขยาย ซึ่งพลังงานของการสั่นจะแผ่ออกไปรอบๆแหล่งกำเนิดเสียงตรงกลางส่วนอัดและตรงกลางส่วนขยายโมเลกุลอากาศจะไม่มีการเคลื่อนที่(การกระจัดเป็นศูนย์) แต่ตรงกลางส่วนอัดความดันอากาศจะมากและตรงกลางส่วนขยายความดันอากาศจะน้อยมาก
2.จงอธิบายหลักการและองค์ประกอบของการขยายเสียงให้ถูกต้อง
ตอบ การขยายเสียงมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้1 แหล่งต้นเสียง (Input Signal) หมายถึงส่วนที่ทำหน้าที่ผลิตต้นกำเนิดเสียงออกมาเพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียงในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า เช่น ไมโครโฟน เทปบันทึกเสียง ซีดี และอื่น ๆ2 เครื่องขยายเสียง (Amplifier) หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้า จากแหล่งต้นเสียงให้มีสัญญาณแรงขึ้นหลาย ๆ เท่าตัว แล้วส่งต่อไปยังลำโพง3 ลำโพง (Speaker) หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้า ที่ส่งมาจากเครื่องขยายเสียงให้เป็นคลื่นเสียง ซึ่งมนุษย์เราจะรับฟังได้การทำงานของระบบขยายเสียงเกิดขึ้นเมื่อ Input signal ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อส่งต่อเข้าสู่ Amplifier ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ 3 ส่วนคือPre-Amp ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าเข้ามาแล้วควบคุมความแรงของสัญญาณนั้นให้มีความแรงของสัญญาณคงที่ สม่ำเสมอ Tone ทำหน้าที่ปรุงแต่งสัญญาณไฟฟ้า ให้เกิดความไพเราะ เช่น ปรุงแต่งเสียงทุ้ม (Bass) และปรุงแต่งเสียงแหลม (Treble) Power Amp ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าที่ปรุงแต่งแล้วให้มีความแรงของสัญญาณเพิ่มขึ้น แล้วส่งไปยังลำโพง (Speaker) ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นเสียง เพื่อให้มนุษย์เราได้ยิน
3.จงอธิบายหน้าที่และชนิดของไมโครโฟนอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ ไมโครโฟน เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ แผ่นไดอะแฟรม จะสั่นสะเทือนและทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้น เป็นพลังงานไฟฟ้าชนิดกระแสสลับที่มีแรงคลื่นไฟฟ้าต่ำมาก ต้องส่งเข้าไปยังเครื่องขยายเสียง เพื่อขยายสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นอีกทีหนึ่งชนิดของไมโครโฟน แบ่งตามลักษณะของโครงสร้างวัสดุ ไมโครโฟนแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ด้วยกันคือ
1) แบบคาร์บอน (Cabon mic) ทำจากผงถ่าน คุณภาพไม่ค่อยดี นิยมใช้กับเครื่องรับโทรศัพท์
2) แบบคริสตัล (Crystal mic) ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ไมโครโฟนชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพของอุณหภูมิและความชื้น ราคาถูก
3) แบบเซรามิค (Ceramic mic) คล้ายแบบคริสตัล แต่มีความทนทานสูงกว่า นิยใช้ติดตั้งกับเครื่องยานพาหนะ
4) แบบคอนเดนเซอร์ (Condenser mic) ใช้คอนเดนเซอร์ เป็นตัวสร้างความถี่ เพื่อทำให้เกิดสัญญาณขึ้น แต่ต้องอาศัยแบตเตอรี่ เป็นตัวช่วยในการทำงาน คุณภาพเสียงดี เบาเล็กกระทัดรัด
5) แบบไดนามิค (Dynamic mic) ใช้แม่เหล็กถาวร และมีขดลวด (moving coil) เคลื่อนไหวไปมาในสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร คุณภาพของเสียงดี มีความคงทน เหมาะที่จะใช้งานสาธารณะ6) แบบริบบอน (Ribbon mic) ใช้แผ่นอลูมิเนียมเบา บางคล้ายกับริบบิ้น จึงต้องอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวรกำลังสูง เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะสั่นสะเทือนและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้จะมีราคาแพง มีคุณภาพดีมาก มีความไวสูง แม้แต่เสียงหายใจ ลมพัด จะรับเสียงได้ เหมาะที่จะนำไปใช้ในห้องส่งวิทยุโทรทัศน์-บันทึกเสียง
4.จงอธิบายและหลักการและส่วนประกอบของเครื่องขยายเสียงให้ถูกต้อง
ตอบ หลักการสำหรับเครื่องขยายเสียงทั่วๆไป มักจะมีภาคขยายสัญญาณ ก่อนจะเข้าเครื่องขยายเสียง เราเรียกภาคนี้ว่า ภาคปรีแอมป์พลิฟลายเออร์ (Pre- amplifier) ซึ่งจะทำงานเหมือนกับภาคแอมพลิฟลายเออร์ทุกประการเพียงแต่สัญญาณขยายอ่อนกว่า เพื่อไม่ให้ขยายสัญญาณผิดเพี้ยน ดังนันเครื่องขยายเสียงราคาแพง จะมีภาคปรีแอมป์ หลายช่วงก่อนที่จะขยายเสียงออกทางลำโพง ทำให้ได้สัญญาณออกมาแรง และเหมือนกับสัญญาณขาเข้าทุกประการ หรือถ้าปรับแต่ง อาจจะไพเราะกว่าเสียงจริงก็ได้ พวกนักร้องคาราโอเกะนิยมมากทั้งๆที่เสียงขาเข้าไม่ค่อยจะไพเราะนัก แต่พอผ่านการปรับแต่ง กลายเป็นเสียงนักร้องก็เป็นได้ส่วนประกอบด้านหน้าของเครื่องขยายเสียง ได้แก่- ปุ่มควบคุม (Control Knobs) Mic.1 Mic.2 Mic.3 เป็นปุ่มควบคุมการรับสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงจากไมโครโฟน แต่ละตัวเพื่อทำการปรับความดังของไมโครโฟนแต่ละตัวแยกอิสระจากกัน- ปุ่มควบคุม Phono เป็นปุ่มควบคุมสัญญาณที่มาจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง (Phonograph)- ปุ่มควบุคม Aux. เป็นปุ่มควบคุมสัญญาณที่มาจาก Auxiliary เช่นเครื่องบันทึกเสียงที่มีการขยายสัญญาณกำลังต่ำมาก่อนแล้ว หรืออาจใช้ควบคุมอุปกรณ์รับสัญญาณเข้าอื่นๆ ที่ไม่มีปุ่มควบคุมอยู่ด้านหน้าด้วย - ปุ่มควบคุมการปรับแต่งเสียงทุ้ม (Bass) และแหลม (Treble) หรือปุ่ม Tone Control ใช้เพื่อปรับเสียงทุ้มแหลม ของเสียงให้มากขึ้น ในเครื่องขยายเสียงบางรุ่นอาจรวม ปุ่มปรับแต่ทุ้มแหลมนี้ไว้ในปุ่มเดียวกันก็เป็นได้- ปุ่มควบคุมการขยายกำลัง (Master volume) ทำหน้าที่ควบคุมสัญญาณให้มีเสียงดังเบา ก่อนจะออกทางลำโพง ซึ่งปุ่มนี้จะทำหน้าที่ร่วมกับปุ่มอื่นๆ ทุกปุ่มข้างต้นด้วย ดังนั้นการที่ปรับปุ่ม Master volume ดังเบา ก็จะทำให้เสียงที่ออกทางลำโพงดังเบาตามปุ่มนี้เป็นสำคัญ- สวิตช์ไฟฟ้า (Switch) ใช้เปิด (On) เมื่อต้องการเริ่มใช้งาน และใช้ปิด (Off) เมื่อเลิกใช้งาน - หลอดไฟหน้าปัด (Pilot lamp) หลอดไฟฟ้าแสดงให้ทราบว่า มีไฟฟ้าเข้าเครื่องฯ หรือไม่5.ระบบของเครื่องขยายเสียงมีกี่ระบบอะไรบ้างตอบ ระบบของเครื่องขยายเสียงมี 2 ระบบ คือ1.ระบบเสียงโมโน (mono phonic sound system) หมายถึง การขยายเสียงที่ขยายเสียงเพียง 1 ช่องเสียง ขยายเสียงเหมือนต้นกำเนิดเสียงเหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงพูดเสียงบรรยาย2.ระบบเสียงสเตอริโอ (stereo phonic sound system) หมายถึง การขยายเสียงที่ขยายเสียงตั้งแต่ 2 ช่องเสียงขึ้นไป ขยายเสียงผิดเพี้ยนไปจากต้นกำเนิดเสียงในทางไพเราะ เหมาะที่จะนำไปใช้ในการขยายเสียงเพลง เสียงดนตรี ระบบเสียงสเตอริโอนั้น อาจสร้างขึ้นมาเป็นชนิด 2 ช่องเสียง (2 CH) คือช่องเสียงทางซ้าย (left channel) และช่องเสียงทางขวา (right channel) ซึ่งระบบนี้มนุษย์เรานิยมใช้ฟังกันมากเพราะตรงตามธรรมชาติของหูผู้ฟังคือ มี 2 หู หูซ้ายและหูขวา
6.จงอธิบายหน้าที่และประเภทของลำโพงให้ถูกต้อง
ตอบ ลำโพง (Lound Speaker) เป็นอุปกรณ์ในภาคสัญญาณออก (Output Signal) ที่มีหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าสัญญาณเสียงที่ขยายมาจากเครื่องขยายเสียงให้เป็นเสียง ซึ่งลำโพงที่ใช้กันนั้นมีหลายชนิด หลายขนาด เพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมและทำจากวัสดุหลายอย่าง เช่น ทำด้วยโลหะ ไม้ โพลิเมอร์ ไฟเบอร์กลาส ประกอบเป็นตู้ ทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ หรือมีรูปร่างต่าง ๆ กันไปชนิดของลำโพงลำโพงที่ใช้ในระบบการขยายเสียงมีหลายชนิดและหลายแบบและมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไป ซึ่งอาจแบ่งได้หลายลักษณะ คือ
1.แบ่งตามลักษณะโครงสร้าง
2.แบ่งตามลักษณะการตอบสนองความถี่ของคลื่นเสียง
3.แบ่งตามลักษณะการนำมาใช้งาน
4.แบ่งตามสถานที่ที่ติดตั้ง
1.แบ่งตามลักษณะโครงสร้างภายในของลำโพง ซึ่งสามารถแบ่งเป็นแบบย่อย ๆ ได้ คือ
1.1. ลำโพงแบบไดนามิก (Dynamic Speaker) หรือแบบขดลวดแม่เหล็กเคลื่อนที่ (Moving Coil Speaker)ลำโพงไดนามิก เป็นชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มีอยู่ในอุปกรณ์เครื่องเสียงแทบทุกประเภท ตั้งแต่คุณภาพต่ำ ๆ จนกระทั่งคุณภาพสูงมาก ๆ มีค่าความต้าน ทาน 4, 8, 16 โอห์ม (Ohm) และกำลังตั้งแต่ 100 มิลลิวัตต์ จนถึง 150 วัตต์
1.2.ลำโพงริบบอน (Ribbon Speaker)ลำโพงแบบนี้ จะให้คลื่นเสียงที่มีความถี่สูง ๆ หรือเสียงแหลม ประมาณ 3,000 – 20,000 Hz แต่กำลังความดังที่เปล่งออกมาน้อย
1.3.ลำโพงไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Speaker) ลำโพงชนิดนี้จะให้คลื่นเสียงกว้างทุกย่านความถี่ของคลื่นเสียง (Full Range) ประมาณ 40 – 20,000 Hz. แต่ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากมีมิติของเสียงไม่ดีเท่าที่ควร
1.4.ลำโพงไฮโปลิเมอร์ (Highpolymer) ลำโพงแบบนี้ให้คลื่นเสียงในช่วงความถี่แคบ ไม่เหมาะกับงานทั่วไปที่ต้องการคุณภาพสูง นิยมทำลำโพงขนาดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Earphone เพราะโครงสร้างไม่ซับซ้อน
2.แบ่งตามลักษณะโครงสร้างภายนอกของลำโพง อาจแบ่งตามลักษณะทางกายภาพได้ 2 แบบย่อย ๆ คือ
1.ลำโพงตู้ (Cabinet Speaker) ส่วนมากเป็นลำโพงแบบไดนามิกลำโพงตู้ เป็นลำโพงที่มักจะใช้เฉพาะภายในเท่านั้น เพราะมีลักษณะบอบบาง ไม่ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศมากนัก ส่งเสียงไปได้ไม่ไกล จึงไม่เหมาะกับงานภายนอก ยกเว้นลำโพงตู้ขนาดใหญ่ที่ใช้กับงานสนาม ที่ทำให้มีความแข็งแรงทนทานเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งเราอาจเรียกลำโพงพวกนี้ว่า ลำโพงตู้แบบรีแฟลกซ์ หรือ ลำโพงตู้ W
2.ลำโพงปากแตร (Horn) ลำโพงปากแตร เป็นลำโพงที่มักใช้ภายนอกอาคาร มีคุณสมบัติทนแดดทนฝน สามารถส่งเสียงไปได้ไกล ๆ แต่จะให้เฉพาะเสียงแหลมเท่านั้น จึงฟังไม่ไพเราะเหมือนลำโพงตู้หรือลำโพงกรวยกระดาษทั่ว ๆ ไป มักใช้กับงานกระจายเสียงทั่ว ๆ ไป หรือใช้ร่วมหรือเสริมลำโพงตู้เพื่อให้มีความดังมากขึ้น
3.แบ่งตามลักษณะการตอบสนองความถี่ของคลื่นเสียง อาจแบ่งได้เป็นชนิดต่าง ๆ ดังนี้
1. ลำโพงเสียงทุ้มต่ำหรือซับวูฟเฟอร์ (Sub Woofer)
2. ลำโพงเสียงทุ้มหรือวูฟเฟอร์ (Woofer)
3. ลำโพงเสียงทุ้มกลางหรือมิดเรนจ์เบส (Midrange/Bass)
4. ลำโพงเสียงกลางหรือมิดเรนจ์ หรือสโคเกอร์ (Midrange or Squawker)
5. ลำโพงเสียงแหลมหรือทวิตเตอร์ (Tweeter)
6. ลำโพงเสียงเต็มช่วงคลื่นหรือฟูลเรนจ์ (Full Range)
7. ลำโพงแบบผสม หรือมัลติเวย์ (Multiway Speaker)
4.แบ่งตามสถานที่ติดตั้งซึ่งอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะคือ
1. ลำโพงใช้งานภายในอาคาร (Indoor Speaker)
2. ลำโพงใช้ภายนอกอาคาร (Outdoor speaker)
3. ลำโพงใช้งานทั้งภายนอกและภายในอาคาร (Sound Column)
5.แบ่งตามลักษณะความเหมาะสมของสถานที่ในการใช้งานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์บางประการสามารถแบ่งได้ ดังนี้คือ
1. ห้องประชุม ควรติดตั้งลำโพงตู้ยาว (Sound Column)
2. โรงงาน ควรใช้ลำโพงปากแตรขนาดเล็ก
3. สนามกีฬากลางแจ้ง ใช้ลำโพงปากแตรที่มีประสิทธิภาพสูง
4. ภัตตาคารและห้างสรรพสินค้า ควรใช้ลำโพงติดเพดาน
5. สำนักงาน ควรใช้ลำโพงติดในเพดานหรือในผนัง
7.จงบอกข้อควรคำนึงในการใช้ไมโครโฟนมาอย่างน้อย 3ชนิด
ตอบ
1. ไม่เคาะหรือเป่าไมโครโฟน
2. อย่าให้ไมโครโฟนล้มหรือตกเป็นอันขาด
3. ไม่ควรพูดใกล้หรือห่างไมโครโฟนเกินไป โดยทั่ว ๆ ไปจะพูดห่างประมาณ 1-4 นิ้ว ถ้าไมโครโฟนรับเสียงไวมากควรพูดห่างประมาณ 6-12 นิ้ว
4. บริเวณใกล้ ๆ ไมโครโฟนควรขจัดเสียงรบกวนอย่าให้หมด เช่น พัดลม, เครื่องปรั อากาศ
5. ควรติดตั้งไมโครโฟน ให้ห่างจากลำโพง ถ้าจำเนจะต้องอยู่ใกล้กัน ควรหันหน้า ลำโพงเนีออกไปไมให้มาตั้งฉากกับไมโครโฟน
6. ไม่ควรให้ไมโครโฟนเปียกน้ำหรือของเหลว
7. หลังจากเลิกใช้ไมโครโฟนควรเก็บใส่กล่องไว้ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และ การกระทบกระเทือน
8.จงบอกข้อควรคำนึงในการใช้เครื่องขยายเสียงมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ
1. ศึกษารายละเอียดการใช้เครื่องขยายเสียงจากคู่มือการใช้ให้เข้าใจ
2. ต่อสายลำโพงให้ถูกต้องและแน่นหนา
3. ควรต่อสายดินเพื่อความปลอดภัย และคุณภาพเสียงที่ดี
4. ลดระดับเสียงให้ต่ำสุดก่อนเปิดและปิดสวิทช์
5. หากเป็นเครื่องขยายเสียงแบบสูญญากาศควรใช้พัดลมเป่าขณะใช้งานเพื่อระบายความร้อน
6. ตรวจสอบให้แน่ชัดว่าใช้ไฟฟ้ากระแสตรงหรือสลับ
7. ขณะเครื่องขยายเสียงทำงานไม่ควรถอดหรือต่อสายลำโพง
8. ไม่ติดตั้งที่ ๆ มีความร้อนหรือความชื้นสูง
9.จงบอกข้อควรคำนึงในการใช้ลำโพงมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ
1. ควรเลือกลำโพงให้เหมาะสมกับงาน
2. ควรใช้ลำโพงที่มีกำลังวัตต์เหมาะสมกับเครื่องขยายเสียง
3. ควรต่อลำโพงให้มีขนาดของอิมพิแดนซ์ตรงกับค่าอิมพีแดนซ์ของเครื่องเสียง
4. ควรต่อลำโพงให้ตรงเฟสกับขั้วเครื่องเสียง

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 10
1.ป้ายนิเทศมีลักษณะอย่างไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ ป้ายนิเทศ คือ แผ่นป้ายที่ใช้จัดแสดงทางการศึกษา หรือเป็นสื่อการเรียนการสอนใช้ถ่ายทอดความรู้ เรื่องราว ความคิด ข่าวสารโดยรูปภาพ แผ่นภาพ แผนภูมิ สถิติ ของจริง ของจำลองและอื่นๆ เสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามลำพัง และเรียนรู้ได้ง่าย
2.จงบอกประโยชน์ของป้ายนิเทศมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ
- เป็นสื่อเร้าความสนใจ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน
- เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนทุกคนได้ศึกษาร่วมกัน โดยอาศัยเนื้อหาที่จัดแสดงไว้บนป้ายนิเทศ
- เป็นสื่อที่ใช้ในระหว่างการสอนหรือใช้ในการทบทวนบทเรียน
-เป็นสื่อที่นักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง
- เป็นสื่อที่นักเรียนได้ร่วมกันจัดทำป้ายนิเทศ
3.ป้ายนิเทศที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไรจงบอกมา 5 ข้อ
ตอบ ลักษณะของป้ายนิเทศที่ดี
- ใช้ภาพเป็นที่น่าสนใจเป็นพิเศษ
- มีเรื่องราวครบบริบูรณ์แต่ไม่ควรจัดมากกว่า 1 เรื่อง
- มีความต่อเนื่องกันและมีความกลมกลืนกัน
- มีจุดสนใจหลักเพียงจุดเดียว จุดอื่นๆเป็นจุดรอง
- สามารถสร้างความรู้สึก ให้ผู้ดูสนใจติดตามการเคลื่อนไหว
- จัดให้มีภาพใกล้เคียงความจริง
4.จงอธิบายถึงการวางแผนในการจัดป้ายนิเทศมาทั้ง 7 ข้อ
ตอบ
- ป้ายนิเทศ 1 ป้าย ควรแสดงเรื่องหรือความคิดเพียงเรื่องเดียว
-ต้องมีชื่อเรื่อง โดยมีเทคนิคการตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ และประดิษฐ์โดยใช้ตัวอักษร หรือวัสดุต่าง ๆ มาประกอบ หรือกระตุ้นและเร้าความอยากรู้ของผู้ดู
- ควรวางแผนการจัดก่อนลงมือจัดจริง โดยคำนึงถึงหลักการออกแบบที่ดี การใช้ภาพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหา ตลอดจนใช้วัสดุอื่น ๆ มาใช้ประกอบ
-ใช้สีหรือทำให้น่าสนใจ ทั้งในส่วนที่เป็นเนื้อหาหรือการจัดทำพื้นป้าย
-ใช้เส้นหรือทิศทางการจัดวาง เพื่อเป็นเครื่องช่วยนำสายตาของผู้ดูให้เกิดการรับรู้ที่ต่อเนื่องกัน
-ควรมีข้อความหรือคำอธิบายสั้น ๆ ประกอบ เพื่อให้ผู้ดูสามารถเรียนรู้สาระจากป้าย การใช้ตัวอักษรในส่วนนี้ ควรมีลักษณะที่อ่านง่าย ชัดเจน
- ควรมีการประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนรู้คุณค่าของการจัดป้าย
5.หลักเกณฑ์ในการจัดป้ายนิเทศมีอะไรบ้างจงยกมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ
-การกระตุ้นความสนใจ
-การมีส่วนร่วม
-การตรึงความสนใจ
-ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
-การเน้น
-การใช้สี
6.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดสื่อวัสดุ 3 มิติมาอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ
-หุ่นจำลอง (Models) หุ่นจำลองเป็นวัสดุ 3 มิติที่สร้างขึ้นเฟื่อเลียนแบบของจริงหรือใช้แทนของจริง ที่ไม่สามารถจะนำมาแสดงได้โดยตรง มีการจัดทำหลายประเภท เช่น หุ่นจำลองแสดงลักษณะภายนอก หุ่นจำลองเหมือนของจริง หุ่นจำลอง แบบขยายหรือแบบย่อ หุ่นจำลองแบบผ่าซีก หุ่นจำลองแบบแยกส่วน หุ่นจำลองแบบเคลื่อนไหวทำงานได้ และหุ่นจำลองเลียนแบบของจริง เป็นต้น (กัลยา จยุติรัตน์ 2531 : 149- 150) การใช้หุ่นจำลองเป็นสารนิเทศนี้ นิยมใช้ในการเรียนการสอน เช่น ใช้เป็นอุปกรณ์ การสอนประกอบการเรียนวิชาแพทยศาสตร์ เป็นต้น เพราะทำให้ง่ายต่อความเข้าใจและเปิดโอกาสให้สามารถศึกษาลักษณะ และการทำงานของของจริงได้ง่ายขึ้น
-ของจริง / ของตัวอย่างแสดงคุณลักษณะต่างๆได้ตรงตามสภาพจริงเป็นลักษณะ 3มิติที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือสามารถจับต้อง พิจารณารายละเอียดต่างๆได้อย่างชัดเจน
-ตู้อันตรทัศน์ สื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติ กระตุ้นความสนใจ วัสดุประกอบฉากสอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกัน
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 3
1.จงอธิบายคำว่า ระบบ ให้ถุกต้อง
ตอบ
-ระบบ คือ ดร. เปรื่องกุมุท ได้กล่าว ระบบคือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมกันอย่ในโครงร่างหรือกระบวนการนั้นสำหรับ ดร.ชัยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้คำนิยามว่า ระบบ คือเป็นส่วนร่วมของหน่วยซึ่งเป็นงานอิสระจากกัน แต่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ กำหนดไว้ เช่น ระบบศึกษา จะมีองค์ประกอบเป็นหน่วย่อยลงไปคือ การเรียน การสอนการจัดการบริการ อาคาร สถานที่ และเครื่องอำนวยความสะดวก ชุมชน และผู้เรียน
2.จงเขียนแบบจำลององค์ประกอบของระบบให้ถุกต้อง
ตอบ องค์ประกอบของระบบ มี 3 ประการคือ
1.ข้อมูล(input)
2.กระบวนการ(process)
3.ผลลัพธ์(output)
3.จงบอกคุรค่าของการจัดระบบมาอยางน้อย 3 ข้อ
ตอบ
1.เป็นแนวในการดำเนินงานให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
2.ช่วยให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
3.สามารถสร้างแบบจำลองเพื่อช่วยป้องกันการลงทุนที่ไม่จำเป็นได้
4.สามารถตรวจสอบเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานได้ทุกขั้นตอน
5.สามารถดัดแปลงระบบที่มีประสิทธิภาพให้เหมาะสมกับงานอื่นๆได้
5.จงอธิบายระบบย่อยของระบบสื่อการสอนให้ถูกต้อง
ตอบ
-ระบบย่อย คือเป็นระบบที่มีจำนวน 30-50 คน ลักษระของการสอนจะเป็น แบบบรรยาย การสาธิต การทดลอง อภิปราย ศูนย์การเรียนรู้ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 9
1. วัสดุกราฟฟฟิคมีลักษณะเป็นอย่างไรจงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ

- มีความง่ายต่อความเข้าใจ สามารถสื่อความหมายได้รวดเร็ว ชัดเจน ทั้งรูปภาพสัญลักษณ์ ตัวอักษรและถ้อยคำ
- การออกแบบต้องคำนึงถึงการเรียนรู้โดยเรียงลำดับ สัญลักษณ์ และตัวอักษร ตามลำดับขั้นตอน
- ต้องมีการเป็นจุดเด่นโดยการใช้สี ขนาด รูปร่าง รูปทรง เส้น ทิศทาง
- มีความเป็นเอกภาพทั้งเนื้อหาและรูปแบบ
- มีความประณีต สวยงาม ตามคุณค่าของศิลปกรรม
2.จงบอกคุณค่าของวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ

- ราคาถูก
- ครูผู้สอนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง
- เก็บรักษาง่าย
3.จงบอกประโยชน์ของวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ

- ประหยัดเวลา
- ช่วยให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนยิ่งขึ้น
- ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายได้ตรงกัน
4.วัสดุกราฟฟิคที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไรจงบอกมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ

- มีความง่ายต่อความเข้าใจ
- การออกแบบต้องคำนึงถึงการเรียนรู้โดยเรียงลำดับภาพ
- ต้องมีการเน้นจุดเด่นโดยการใช้สี ขนาด รูปร่าง
5.จงบอกหลักการออกแบบวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ

- ตรงกับจุดมุ่งหมายของเนื้อหาวิชา
- มีสัดส่วนดี องค์ประกอบทั้งหมดกลมกลืน เช่น รูปแบบ เส้น สี
- มีโครงสร้างที่เหมาะสม กลมกลืนกับวัฒนธรรม สังคม และความถูกต้องตามสถานที่เป็นจริง
6.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของสื่อวัสดุกราฟฟิคมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ

- แผนภูมิ เป็นวัสดุประเภทกราฟฟิคซึ่งมีองค์ประกอบ
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 6
1.จงอธิบายความเป็นมาของงานกราฟฟิคมาพอเข้าใจ
ตอบ มนุษย์เผ่าโครงมันยองได้ถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวันได้บนผนังถ้ำ โดยใช้วัสดุที่มีความคม เช่น กระดูก หรือ หินแข็งๆ ขูดขีด เซาะเป็นร่อง ในธรรมชาติ มีทั้งลายเส้นและภาพระบายสีเป็นจำนวนมาก นักโบราณคดี รูปภาพต่างๆเหล่านั้นถ่ายทอดความรู้สึกเกี่ยวกับความเชื่อ 3 ประการ
- เกี่ยวกับความตาย
- ความอุดมสมบูรณ์
- การสำนึกในบาป
2.จงบอกความหมายและคุณค่าของงานกราฟฟิคให้ถูกต้องและครอบคลุม
ตอบ คำว่ากราฟฟิคมาจากภาษากรีก 2 คำ คือ
Graphikohos หมายถึง การเขียนภาพทั้งที่เป้นภาพสีและภาพขาวดำ
Graphein หมายถึง การเขียนตัวหนังสือและการใช้เส้นในการสื่อความหมาย
3.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดวัสดุที่ใช้ในงานกราฟฟิคมาอย่างน้อย 4 ประเภท
ตอบ - กระดาษ โดยทั่วไปกระดาษเป็นวัสดุที่ผลิตมาจากเยื่อไม้ ซึ่งมีคุณสมบัติและคุณภาพแตกต่างกันกระดาษแต่ละชนิดมีความเหมาะสมกับงานต่างกัน
- สี จำแนกได้หลายชนิดดังนี้
** จำแนกตามคุณสมบัติของวัตถุที่ใช้ผสม
** จำแนกตามลักษณะการใช้งาน
** จำแนกตามคุณสมบัติทางกายภาพ
- วัสดุขีดเขียน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
** ประเภทปลายปากแข็ง
** ประเภทปลายปากอ่อน
- วัสดุสำเร็จ มีหลายชนิด บางชนิดใช้ขูด ถู ติดลงบนแผ่นชิ้นงาน เรียกว่า อักษรลอก บางชนิดเป็นสติ๊กเกอร์ตัดเป็นตัวอักษรเป็นตัวๆรวมอยู่ในแผ่นเดียวกัน
4.จงอธิบายความหมายของการออกแบบมาให้เข้าใจ
ตอบ การออกแบบเป็นศิลปะของการสร้างสรรค์แบบ โดยการนำเอาส่วนประกอบของการออกแบบมาจัดตามหลักเกณฑ์ของการออกแบบให้ได้แบบที่มีความสวยงามและน่าสนใจ
5.จงยกตัวอย่างส่วนประกอบของการออกแบบมาอย่างน้อย 5 ประการ
ตอบ - เส้น
- รูปร่าง
- ที่ว่าง
- พื้นผิว
- สัดส่วน
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 5
จงตอบคำถามลงในช่องว่างของแต่ละข้อให้ได้ความสมบูรณ์และถูกต้อง
1. การรับรู้ หมายถึง กระบวนการแปลหรือตีความต่อสิ่งเร้าข่าวสารที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้งหลายได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น ผิวกาย
2. อวัยวะรับสัมผัสมี 5 ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย
3.องค์ประกอบของกระบวนการรับรู้มี 3 ประการ ได้แก่
- อาการรับสัมผัส
- การแปลความหมายของอาการรับสัมผัส
- ประสบการเดิม
4. ธรรมชาติของการรับรู้มีอะไรบ้าง
- การเลือกที่จะรับรู้
- การจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้าเป็นกลุ่มๆ
- ความต่อเนื่อง
- ความสมบูรณ์
5. สิ่งต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ ได้แก่
- สิ่งเร้าภายนอก
- สิ่งเร้าภายใน
- คุณลักษณะของสิ่งเร้า
6. การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่ที่เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝนไม่ใช้ผลมาจากการตอบสนอง

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4
จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง
1.คำว่า communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือ ร่วมกัน
2.การสื่อความหมาย หมายถึง พฤติกรรมที่สัตว์สังคมทุกชนิดใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อซึ่งกันและกัน แสดงถึงความเป็นหมู่เหล่าเผ่าพันธ์เดียวกัน
3.sender........message........channel........reciever
4.สาร หมายถึง เนื้อหาสาระ ความรู้สึก ทัศนะคติ ทักษะ ประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5.Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อยๆ
ตัวอย่างเช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เป็นต้น
6.Stucture หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากองค์ประกอบย่อยๆมารวมกัน
ตัวอย่างเช่น คำ ประโยค หรือสีสรรของรูปร่าง
7.content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิดความต้องการของผู้ส่ง
8.Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบที่จะสามารถถ่ายทอดได้
9.Code หมายถึง กลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ
ตัวอย่างเช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี การพูด กริยา
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 2
1.จงบอกความหมายของสื่อการสอนให้ถูกต้อง
ตอบ สื่อการสอนเป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูไปถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ได้วางไว้
2.จงอธิบายความสำคัญของสื่อการสอนให้ชัดเจน
ตอบ
- ช่วยสื่อความหมายที่ชัดเจนถูกต้อง
- เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
- สามารถนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลดี
3.จงบอกถึงคุณสมบัติของสื่อการสอนมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ
- สื่อประเภทวัสดุ
- สื่อประเภทอุปกรณ์
- สื่อประเภทคอมพิวเตอร์
4.จงบอกถึงคุณค่าของสื่อการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ
- เป็นสิ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้าใจ
- ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกัน
- ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอน
- ช่วยกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอ
5.จงบอกหลักการใช้สื่อการสอนให้ถูกต้องชัดเจน
ตอบ
- การวางแผน
- การเตรียมการ
- การนำเสนอสื่อ
- การติดตามผล
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 1
1.จงบอกความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึงษามาอย่างถูกต้อง
ตอบ เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอากระบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ๆมาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สำหรับนวัตกรรมทาฝฃงการศึกษา หมายถึง คามคิดและวิธีการปฎิบัติใหม่ๆที่ส่งเสริมให้ให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่างๆมาอย่างน้อย 5 สาขา
ตอบ
-เทคโนโลยีทางการแพทย์
-.เทคโนโลยีทางการทหาร
-เทคโนโลยีทางการเกษตร
-เทคโนโลยีทางการสื่อสาร
-เทคโนโลยีทางการค้า
3.จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายทางเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพและทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
ตอบ
-ทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ทัศนะนี้มุ่งเน้นไปที่วัสดุ อุปกรณ์หรือผลิตผลทางวิศวกรรมเป็นสำคัญแต่ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่นๆ เพราะเห็นว่าการนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุมาช่วยในการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น
-ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ทัศนะนี้มุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ โดยมองว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไรจะจัดการเรียนการสอนหรือการศึกษาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่างๆได้อย่างไร
4.จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่างๆอย่างน้อย3ระดับ
ตอบ
-บุคคลธรรมดา ความหมายตามพจนานุกรมอธิบายว่า การศึกษาเเป็นการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม
-บุคคลทางวิชาชีพทางการศึกษา ความหมายตามพจนานุกรมอธิบายว่า การศึกษาเป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีตซึ่งจัดรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบเพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ
-บุคคลที่เป็นนักการศึกษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกันแบ่งได้เป็น 2 ทัศนะ คือ
*ทัศนะแนวสังคมนิยม
*ทัศนะเสรีนิยม
5.เทคโนโลยีทางการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ
-ระดับอุปกรณ์การเรียน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนของครูสัมผัสจากการใช้หูฟังครูพูด
-ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเองโดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกับผูเรียนเสมอไป
-ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้างสามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก
6.จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
ตอบ เทคโนโลยีเป็นการนำเอากระบวนการต่างๆ วิธีการแนะแนวคิดใหม่ๆและนวัตกรรมก็เป็นการกระทำสิ่งใหม่ส่วนความแตกต่างคือ เทคโนโลยีจะนำแนวคิดมาใช้หรือประยุกต์อย่างมีระบบส่วนนวัตกรรมจะนำความคิดมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำนินงาน
7. จงบอกถึงขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
ตอบ
-ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น
-ขั้นการพัฒนาการ
-ขั้นการนำไปปฏิบัติการ
8.จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ
-ทำให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น
-สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
-ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น
-มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอนให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
-ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้าน
-ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น
9.จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ
-การสอนแบบโปรแกรม
-ศูนย์การเรียน
-ชุดการสอน
-การสอบแบบจุลภาค
-เครื่องช่วยสอน
10.จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ
-การเพิ่มจำนวนประชากร
-การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
-ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ
11.จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ
-การไม่นับถือตน
-การไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
-การขาดลักษณะที่พึงประสงค์
12.จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษระที่พึงประสงค์ของคนไทยมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ ตัวอย่างเช่น ความโลภ ความหลง ความเห้นแก่ตัว
แนวทางแก้ไข
-กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น
-สามารถตัดสินใจ
-รู้จักแสวงหาความรู้
-รู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น
-มีความรับผิดชอบ